Last updated: 4 ธ.ค. 2567 | 69 จำนวนผู้เข้าชม |
คุณลูกค้าพลาสวูดมือใหม่หลายๆท่าน อาจจะมีประสบการณ์จากการที่ใช้งานพลาสวูดติดตั้งภายนอกอาคารมีอาการบิดงอของพลาสวูด จึงจะสรุปสาเหตุของการบิดตัวของพลาสวูด ดังนี้
1. การนำพลาสวูดไปทำสีเข้ม
พลาสวูด (Plaswood) หรือแผ่นพีวีซีโฟม (PVC Foam Sheet) คือพีวีซีชนิดที่มีผิวแข็ง ภายในเป็นพีวีซีโฟม ที่มีลักษณะเป็นรูพรุนมีฟองอากาศอยู่ภายใน ผลิตมาเพื่อทดแทนการใช้ไม้ ส่วนประกอบสำคัญจากพีวีซี (PVC) ซึ่งพีวีซีมีคุณสมบัติที่เมื่อโดนความร้อนจะมีโอกาสที่จะบิดตัวได้ ดังนั้น จึงควรจะใช้พลาสวูดตรากิเลนส้ม เกรดA และ B ที่ผสมสารชนิดที่สามารถใช้งานภายนอกได้ แต่เมื่อนำไปทำสีเข้ม โดยเฉพาะสีดำ สีเทาเข้ม สีน้ำตาลเข้ม เป็นสีที่ดูดซับความร้อน ทำให้พลังงานความร้อนดูดซับไว้กับตัวพลาสวูดระบายความร้อนออกได้ช้ากว่าสีโทนสว่าง
ผนังพลาสวูดทำสีเทาเข้มโดนแดดโดยตรงพบการบิดตัวของพลาสวูด
ดังนั้นไม่ควรนำพลาสวูดเกรดภายในมาติดตั้งภายนอกและหลีกเลี่ยงการทำสีพลาสวูดเป็นสีเข้ม |
แต่ทำไมพลาสวูดทำสีเข้ม แล้วยังไม่พบการบิดตัวของพลาสวูด?
จากภาพ
ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติจากพลาสวูดทำสีแดงเข้มไม่พบการบิดตัว
ฟาซาดทำสีแดงเข้มมีช่องระบายอากาศด้านหลังไม่พบการบิดตัว
รั้วระแนงพลาสวูดสีเทาเข้มมีช่องระบายความร้อนได้ดีไม่พบการบิดตัว
2. วิธีการทำสีพลาสวูด
ถึงแม้ว่าพลาสวูดสามารถทำสีได้ทุกชนิด แต่วิธีทำสีพลาสวูดก็อาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจทำให้พลาสวูดบิดตัวได้
ตัวอย่างจากประสบการณ์ตรงของช่างสีมืออาชีพ แนะนำถึงการทำสีพลาสวูด คือไม่ควรนำพลาสวูดไปตากแดด หรือวางไว้โดนแดดโดยตรง จนพลาสวูดได้รับความร็อนเต็มที่ และก่อนทำสีไม่ได้ให้พลาสวูดเย็นตัวลงก่อนนำไปทำสีเลย ซึ่งพลาสวูดที่มีอุณหภูมิสูง เมื่อมีการทำสีโดยการทาหรือพ่นสี ที่สีมีอุณหภูมิที่เย็นกว่า หรือสีบางชนิดที่มีส่วนผสมสีเป็นทินเนอร์ที่มีความเย็นเมื่อพ่นหรือทาไปแล้ว ผลก็คือทำให้พลาสวูดมีการบิดตัว หรือมีฟองอากาศผุดมาจากเนื้อสี ดังนั้นการทำสีพลาสวูดควรทำในที่ที่มีอุณหภูมิปกติ และทำความสะอาดแผ่น เช็ดคราบสิ่งสกปรกออกจากพลาสวูดก่อนจะทำสีทุกครั้ง
ตัวอย่างพลาสวูดบิดงอจากการทำสี
ตัวอย่างพลาสวูดทำสีเป็นฟองอากาศผุดขึ้นมา
3. การยึดติดพลาสวูด
การยึดติดพลาสวูดกับโครงเหล็ก/แผ่นหลังนั้น มีความสำคัญที่อาจจะทำให้พลาสวูดหลุดออกจากโครงสร้างได้ ในที่นี้จะอธิบายถึงการยึดติดพลาสวูดกับโครงเหล็กในกรณีที่มีการยิงสกรูผ่านแผ่นพลาสวูดไปถึง โครงเหล็ก/โครงอลูมิเนียม หรือโครงไม้ ควรยิงสกรูไม่ให้จมลึกเกินไป เมื่อมีสกรูที่จมจากพื้นผิววัสดุลึกเกินไป ทำให้เหลือพื้นที่หัวสกรูยึดเกาะน้อย เมื่อมีการหดตัวหรือขยายตัวของพลาสวูด ตามอุณหภูมิที่สูงขึ้นหรือต่ำลง จะทำให้มีการหลุดของแผ่นพลาสวูดได้ง่าย ตัวอย่างเช่น พลาสวูด 8 mm. ยิงสกรูจมลงไป 4 mm. จะเหลือพื้นที่ยึดเกาะได้เพียง 4 mm. และส่วนที่แข็งแรงที่สุดของพลาสวูดจะอยู่บริเวณผิวของแผ่น ที่จะช่วยให้การยึดเกาะระหว่างสกรูกับแผ่นพลาสวูดมีโอกาสที่จะหลุดจากการยึดเกาะได้ง่าย เมื่อมีการหดตัวหรือขยายตัวของพลาสวูด
การยิงสกรูที่จมลงในเนื้อแผ่นมากเกินไป (สกรูด้านล่าง)